วันเสาร์ที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2553

แบบทดสอบ

แบบทดสอบความรู้ออนไลน์
แบบทดสอบเบญจมราชานุสรณ์




1. อาณาจักรสุโขทัยสมัยใดที่มีความรุ่งเรืองที่สุด?

พ่อขุนรามคำแหง

พ่อขุนศรีอิทราทิตย์

พระมหาธรรมราชาที่ 1

พระยางั่วนำถม


2. อาณาจักรสุโขทัยเสื่อมลงและตกเป็นเมืองขึ้นสมัยใด?

ล้านนา

กรุงศรีอยุธยา

ขอม

เวียงจันทร์


3. ใครเป็นบุคคลที่เปลี่ยนแปลงการปกครองเป็นแบบิดาปกครองบุตรหรือพ่อปกครองลูก(ปิตุลาธิปไตย)?

พ่อขุนบานเมือง

พระยาเลอไท

พ่อขุนศรีอิทราทิตย์

พระมหาธรรมาราขาที่ 2


4. การปกครองแบบพ่อปกครองลูกมีลักษณะสำคัญ 4 ประการข้อใดไม่ใช่?

รูปแบบประชาธิปไตย

รูปแบบบิดาปกครองบุตร

การยึดหลักในพระพุทธศาสนา

การช่วยเหลือซึ่งกันและกัน


5. "สองแคว" มีชื่อเรียกอีกอย่างว่าอะไร ?

นครสวรรค์

พิษณุโลก

สมุทรปราการ

จัทรบุรี


6. "เมืองลูกหลวง" หมายถึงอไร ?

เมืองหลวงหรือราชธานี

หัวเมืองชั้นใน

หัวเมืองชั้นนอก

เมืองประเทศราช


7. อาณาจักรสุโขทัยสถาปนาขึ้นประมาณปลายพุทธศตวรรษที่เท่าใด ?

15

16

17

18


8. ในสมัยของใครที่อาณาจักรขอมรุ่งเรืองมาก ?

สมัยพระมหาธรรมราชาที่ 2

สมัยพระมหาธรรมราชาที่ 3

สมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 7

สมัยพระยางั่วนำถม


9. กษัตริย์ราชวงค์พระร่วงมีจำนวนกี่องค์ ?

5

7

8

9


10. พ่อขุนรามคำแหงมหาราชได้ครองราชย์กี่ปี ?

15

16

18

19



ผลคะแนน =

เฉลยคำตอบ:





วันพฤหัสบดีที่ 20 พฤษภาคม พ.ศ. 2553

ประวัติการปกครองสมัยสุโขทัย
















อาณาจักรสุโขทัย หรือ รัฐสุโขทัย (อังกฤษ:
Kingdom of Sukhothai) เป็นอาณาจักร หรือรัฐในอดีตรัฐหนึ่ง ตั้งอยู่บนที่ราบลุ่มแม่น้ำยม เป็นชุมชนโบราณมาตั้งแต่ยุคเหล็กตอนปลาย จนกระทั่งสถาปนาขึ้นราวพุทธศตวรรษที่ 18 ในฐานะสถานีการค้าของรัฐละโว้ หลังจากนั้นราวปี 1800 พ่อขุนบางกลางหาวและพ่อขุนผาเมือง ได้ร่วมกันกระทำการยึดอำนาจจากขอมสบาดโขลญลำพง ซึ่งทำการเป็นผลสำเร็จและได้สถาปนาเอกราชให้สุโขทัยเป็นรัฐอิสระ และมีความเจริญรุ่งเรืองตามลำดับและเพิ่มถึงขีดสุดในสมัยพ่อขุนรามคำแหงมหาราช ก่อนจะค่อยๆตกต่ำ และประสบปัญหาทั้งจากปัญหาภายนอกและภายใน จนต่อมาถูกรวมเป็นส่วนหนึ่งของอาณาจักรอยุธยาไปในที่สุด


การปกครองสมัยสุโขทัย

อาณาจักรสุโขทัยเมื่อแรกตั้งเป็นอาณาจักรเล็กๆสมัยที่ รุ่งเรืองที่สุดคือสมัยพ่อขุนรามคำแหงมหราชมีอาณาเขต
- ทิศเหนือจรดเมืองลำพูน
- ทิศตะวันออกเฉียงเหนือจรดเทือกเขาดงพญา เย็นและภูเขาพนมดงรั
- ทิศตะวันตกจรดเมืองหงศาวดีทางใต้จรดแหลม มลายู มีกษัตริย์ปกครองเป็นเอกราชติดต่อกันมา 6 พระองค์

อาณาจักรสุโขทัยเสื่อมลงและตกเป็นเมืองขึ้นของกรุงศรีอยุธยาเมื่อสมัยพญาไสลือไทโดยทำสงครามปราชัยแก่พระบรมราชาที่ 1 แห่งกรุงศรีอยุธยาในปีพ.ศ.1921 และราชวงศ์พระร่วง ยังคงปกครองในฐานะประเทศราชติตต่อกันมาอีก 2พระองค์ จนสิ้นราชวงศ์ พ.ศ.1981

ลักษณะการปกครองสมัยสุโขทัย

แบ่งออกเป็น 2ช่วง คือ การปกครองสมัยสุโขทัยตอนต้นและการปกครองสมัยสุโขทัยตอนปลาย ดังต่อไปนี้

1.การปกครองสมัยสุโขทัยตอนต้นเมื่อขอมปกครอง สุโขทัยใช้ระบบการปกครองแบบนายปกครองบ่าวเมื่อสถาปนากรุงสุโขทัย ขึ้นใหม่พ่อขุนศรีอินทราทิตย์จึงจัดการปกครองใหม่เป็นแบบบิดาปกครองบุตรหรือพ่อปกครองลูก หรือ ปิตุลาธิปไตย ซึ่งมีลักษณะสำคัญ 4 ประการ คือ
  • รูปแบบราชาธิปไตย หมายถึงพระมหากษัตริย์ทรงเป็นผู้ปกครองสูงสุด ทรงใช้อำราจสูงสุดที่เรียกว่า อำนาจอธิปไตย
  • รูปแบบบิดาปกครอง บุตร หมายถึงพระมหากษัตริย์ทรงมีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับประชาชนมากจึงเปรียบ เสมือนเป็นหัวหน้าครอบครัว
หรือพ่อจึงมักมีคำนำหน้าพระนามว่าพ่อขุน
  • ลักษณะลดหลั่น กันลงมาเป็นขั้นๆเริ่มจากหลายครอบครัวรวมกันเป็นบ้านมีพ่อบ้านเป็นผู้ปกครอง หลายบ้านรวมกันเป็นเมืองมีพ่อเมือง
เป็นผู้ปกครองหลายเมืองรวมกันเป็นประเทศมีพ่อขุน เป็นผู้ปกครอง
  • การยึดหลักธรรมใน พุทธศาสนาในการบริหารบ้านเมือง
2.การปกครองสมัยสุโขทัยตอนปลายการปกครองแบบ บิดาปกครองบุตรเริ่มเสื่อมลงเนื่องจากสถาบันพระมหากษะตริย์ ไม่มั้นคงเกิด ความ รำส่ำระสายเมืองต่างๆแยกตัวเป็นอิสระพระมหาธรรมราชาที่ 1จึงทรงดำเนินพระราชกุศโลบายทรงทำนุบำรุงส่งเสริมพระพุทธศาสนา และทรงปฏิบัติธรรมเป็นตัวอย่างแก่ราษฏรเพือ่ให้ราษฎร เลื่อมใสศรัทธาในหลักธรรมของพระพุทธศาสนาสร้างความสามัคคีในบ้านเมือง ลักษณะการปกครองสุโขทัยตอนปลายจึงเป็นแบบธรรมราชาดัง นั้นจึงนับได้ว่าพระองค์ธรรมราชาพระองค์แรกและพระมหากษัตริย์องค์ ต่อมาทรงพระนามว่า"พระมหาธรรมราชาทุกพระองค์"

การปกครองสมัยสุโขทัย

การเมืองการปกครอง สมัยสุโขทัย แบ่งเป็น
3ลักษณะ คือ


1. การปกครองแบบพ่อปกครองลูกเป็นลักษณะเด่นอ
ขงการปกครองตนเองในสมัยสุโขทัยการปกครอง
ลักษณะนี้พระมหากษัตริย์เปรียบ เหมือนพ่อของ
ประชาชน และปลูกฝังความรู้สึกผูกพันระหว่า'
ญาติมิตรการ ปกครองเช่นนี้เด่นชัดมากในสมัย
พ่อขุนรามคำแหงมหาราช
2. การปกครองแบบธรรมราชาหรือธรรมาธิปไตย
ลักษณะการปกครองทรงยึดหลักธรรมทางพระพุทธศาสนา
และต้องเผยแพร่ธรรมะสู่ ประชาชนด้วยการปกครอง
แบบธรรมราชานั้นเจริญรุ่งเรืองมากในสมัยพระมหา ธรรมราชาที่ 1พระองค์ทรงออกบวชและศึกษาหลักธรรมอย่างแตก ฉาน นอกจากนี้ยังทรงพระราชนิพนธ์
หนังสือเตภูมิกถา(ไตรภูมิพระร่วง)ไว้ให้ประชาชนศึกษา อีกด้วย
3. ทรงปกครองโดยยึดหลักสิทธิเสรีภาพเป็นการ ปกครองที่พระมหากษัตริย์ไม่ได้ทรงใช้อำนาจอย่างเด็ดขาด แต่ให้มีสิทธิเสรีภาพในการประกอบอาชีพด้านต่าง ๆ ตามความถนัดเป็นต้น




การปกครองของอาณาจักร สุโขทัย
แบ่งการปกครองออกเป็น



1. เมืองหลวงหรือราชธานีเป็นที่ประทับของพระ มหากษัตริย์พระราชวังและวัดจำนวนมากตั้งอยู่ในและนอกกำแพงเมืองราชธานีเป็น ศูนย์กลางทางการปกครอง การศาสนาวัฒนธรรมศิลปะและขนบประเพณีพระมหากษัตริย์ทาง เป็นผู้ปกครองเอง
2. เมืองลูกหลวงเป็นเมืองหน้าด่านตั้งอยู่รอบ ราชธานีห่างจากเมืองหลวงมีระยะทางเดินเท้าประมาณ 2วัน ได้แก่ เมืองศรีสัชนาลัย เมืองสองแคว เมืองสระหลวง เมืองชากังราว เมืองลูกหลวงเป็น เมืองที่เจ้านายเชื้อพระวงส์ได้รับแการแต่งตั้งจากพระมหากษัตริย์

การ ปกครองราชธานี และหัวเมืองต่าง ๆ แบ่งออกเป็น

1. เมืองหลวงหรือราชธานี อาณาจักร สุโขทัยมีกรุงสุโขทัยเป็นราชธานี เมืองหลวงหรือราชธานีเป็นที่ประทับของพระมหากษัตริย์ พระมหากษัตริย์เป็นผู้ปกครองดูแลเอง
2. หัวเมืองชั้นใน หรือเมืองลูกหลวง ตั้งอยู่รายรอบราชธานีทั้ง 4 ทิศ หัวเมืองชั้นในพ่อขุนจะแต่งตั้งพระญาติวงศ์ใกล้ชิดไปปกครอง
3. หัวเมืองชั้นนอก หรือ เมืองพระยามหานคร ผู้ปกครองเมือง ได้แก่ เจ้านายหรือข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ที่พ่อขุนโปรดเกล้าฯ ให้ไปปกครองเมืองนั้น ๆ
4. เมืองประเทศราช เมืองที่อยู่นอกอาณาจักร ชาวเมืองเป็นคนต่างชาติ พ่อขุนจะกำหนดให้เจ้านายของเมืองนั้น ๆ ปกครองกันเอง แต่ต้องถวายเครื่องราชบรรณาการต่อพระเจ้ากรุงสุโขทัยตามกำหนด

ความเสื่อมของอาณาจักรสุโขทัย

1. การ เปลี่ยนแปลงการปกครองสุโขทัยสมัยแรกๆปกครองแบบพ่อปกครองลูกและได้เปลี่ยน เป็นสมมติเทพในสมัยพญาเลอไทซึ่งทำให้ความสัมพันธ์ของ
พระมหากษัตริย ์กับประชาชนห่าง เหินกันมากขึ้น ความสัมพันธ์แบบเครือญาติหมดไปพระมหา กษัตริย์ต้องปกครองประเทศโดยลำพังทำให้เกิดความขัดแย้งได้ง่าย
ถ้าพระมหากษัตริย ์อ่อนแอ
2. การ กระจายอำนาจในการปกครองการปกครองแบบนี้ทำให้หัวเมืองต่างๆตั้งตัวเป็นอิสระ ได้ง่าย เพราะมีอิทธิพลในการปกครองตนเอง
3. การ แตกแยกในราชวงศ์สาเหตุนี้ทำให้บ้านเมืองทรุดโทรมและสูญเสียกำลังมากเพราะการ ฆ่าฟันกัน
4. การ สิ้นสุดของอาณาจักรสุโขทัยซึ่งเกิดจากการสถาปนากรุงศรีอยุธยาที่มีความพร้อม และมีความเข้มแข็งมากกว่า




การสถาปนาอาณาจักรสุโขทัย



อาณาจักรสุโขทัยสถาปนาขึ้นประมาณตอนปลายพุทธ ศตวรรษที่ 18 ในบริเวณภาคเหนือตอนล่าง ซึ่งมีปัจจัยที่เอื้อต่อการสถาปนาดังนี้
1. การเสื่อมอำนาจของอาณาจักรขอม อาณาจักรขอมเคยเจริญรุ่งเรืองอยู่ประมาณ พุทธศตวรรษที่ 16 จนถึงกลางพุทธศตวรรษที่ 18 ในบริเวณที่ราบลุ่มแม่น้ำโขง ตอนล่าง มีเมืองนครธม(พระนครหลวง) เป็นเมืองหลวง ในประเทศกัมพูชาในปัจจุบัน และแผ่อิทธิพลเข้ามายังบริเวณภาคตะวันออก เฉียงเหนือของไทย รวมทั้งบริเวณที่ราบลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา ตอนล่างด้วย ในสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ( พ. ศ. 1724 – 1761) อาณาจักรขอมเจริญรุ่งเรืองมาก
หลังจากนั้นพระมหากษัตริย์องค์ต่อมา อ่อนแอ ไม่สามารถรักษาอำนาจไว้ได้ อาณาจักรขอมจึงเสื่อมอำนาจลงเรื่อย ๆ จึงเปิดโอกาสให้ชนชาติอื่นที่อาศัย
ในบริเวณนั้นตั้งตัวเป็นอิสระ อย่างเช่นชนชาติไทยได้สถาปนาอาณาจักร สุโขทัยขึ้นมา
2. ความสามารถของผู้นำชาวไทย ในตอนหลายพุทธศตวรรษที่ 18 ขอมที่มีศูนย์กลางการปกครองที่สุโขทัย เมืองของคนไทยอยู่ภายใต้การปกครองของขอม ได้แก่เมืองศรีสัชนาลัย เมืองบางยาง เมืองราก ได้รวมตัวกันอย่างมั่นคงและมีความสัมพันธ์ทางเครือญาติที่แน่น แฟ้น เมื่อขอมเสื่อมอำนาจจึงร่วมมือกันขับ
ไล่ขอมสบาดโขลญลำพงออกจากสุโขทัยได้เป็นอาณาจักรของคน ไทยได้สำเร็จ

พระมหากษัตริย์ที่ปกครอง อาณาจักรสุโขทัย

พระมหากษัตริย์แห่งอาณาจักรสุโขทัย เป็นกษัตริย์ราชวงศ์พระร่วงมีจำนวน 9 พระองค์ ดังนี้

ลำดับ
พระนาม
ปีที่สิ้นสุดรัชสมัย
1
พ่อขุนศรีอินทราทิตย์
ไม่ปรากฎ
2
พ่อขุนบานเมือง
พ.ศ. 1822
3
พ่อขุนรามคำแหงมหาราช
พ.ศ. 1841
4
พระยาเลอไท
ไม่ปรากฎ
5
พระยางั่วนำถม
พ.ศ.1890
6
พระมหาธรรมราชาที่ 1(ลิไท)
ระหว่าง พ.ศ. 1911-1916
7
พระมหาธรรมราชาที่ 2
พ.1942 ศ.
8
พระมหาธรรมราชาที่ 3(ไสลือไท)
พ.ศ.1962
9
พระมหาธรรมราชาที่ 4(บรมปาล)
พ.ศ.1981